การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก

ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกขาดความแข็งแรงทำให้กระดูกแตกหักได้ง่ายแม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย บริเวณที่พบกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย ได้แก่ บริเวณกระดูกข้อมือ กระดูกหลังและกระดูกสะโพก ภาวะกระดูกพรุนนับเป็นมฤตยูเงียบ เนื่องจากภาวะกระดูกพรุนนั้นจะไม่มีอาการเตือนล่วงหน้ามาก่อน

อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือ หรือเริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้มหรือเตี้ยลงเป็นต้น กว่าจะรู้ตัวว่ามีกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อเกิดกระดูกหักเสียแล้ว ซึ่งการหักของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกระดูกสะโพกในคนที่มีภาวะกระดูกพรุนนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการ เดินไม่ได้ต้องทนทุกข์ทรมาน และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นเราจึงควรป้องกันหรือรีบรักษาภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น สุขภาพของกระดูกมีความแข็งแรงในระดับใด มีภาวะกระดูกพรุน หรือไม่ โดยใช้รังสีเอกซเรย์พลังงานต่ำ แนะนำตรวจในสตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีประวัติกระดูกพรุนในครอบครัว การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มสุราบ่อย สูบบุหรี่จัด

Scroll to Top